จังหวัดตรังเป็นจังหวัดหัวเมืองอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ติดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ชายฝั่งทะเลตะวันตกเป็นเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จึงไม่ปรากฏว่ามีประวัติสมัยโบราณก่อนหน้านี้ และคาดว่าในสมัยแผ่นดิน
พระบรไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยานั้น เมืองตรังยังไม่มีเพราะปรากฏในพระธรรมนูญ กล่าวถึงเมืองทางใต้เพียง
นครศรีธรรมราช พัทลุง ไชยา ชุมพร เพชรบุรี กุยบุรี ปราณบุรี คลองวาฬ บางตะพาน ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า ตะนาวศรี มะริด ทวาย
และสามโคก ดังนั้นเมืองตรังแต่เดิมมาน่าจะเป็นเพียงเส้นทางผ่านไปมา ระหว่างนครศรีธรรมราชกับพัทลุงเท่านั้น ต่อมาเมื่อมีผู้คน
ตั้งถิ่นฐานอยู่มากขึ้นก็บังเกิดเป็นเมืองในภายหลัง
เท่าที่พบหลักฐานความเป็นมาของจังหวัดตรัง เริ่มแรกได้จากจารึกวัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ว่าเมืองตรังเดิม
เป็นหัวเมืองขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช สมัยนั้นกล่าวกันว่านครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรืองมาก มีหัวเมืองต่าง ๆ อยู่ในความปกครอง
ถึง 12 เมืองด้วยกัน เรียกว่า 12 นักษัตร สัญลักษณ์ของเมืองใช้ตราม้า (ปีมะเมีย) เป็นตราประจำเมือง และพอจะแบ่งวิวัฒนาการ
ที่มาของคำว่า “ตรัง”
คำว่า “ตรัง” มีความหมายสันนิษฐานได้ 2 ทาง คือ
1) มาจากคำว่า “ตรัง” ซึ่งตามศัพท์แปลว่า ลูกคลื่น เพราะลักษณะพื้นที่ของจังหวัดตรังเป็นเนินเล็ก ๆ สูง ๆ ต่ำ ๆ คล้ายลูกคลื่นอยู่ทั่วไป
2) มาจากคำว่า “ตรังเค” ซึ่ง เป็นภาษามลายูแปลว่า “รุ่งอรุณ” หรือ “สว่างแล้ว” เพราะสมัยก่อนชาวมลายูและชาวมัชฌิมประเทศ ที่เดินทางมาโดยทางเรือมาค้าขายกับไทย เมื่อเรือแล่นมาตามลำน้ำตรังพอมาถึงอำเภอกันตังก็เป็นเวลารุ่งอรุณพอดี พวกที่มาโดยเรืออาจจะเปล่งเสียงออกมาว่า “ตรัง เค” ดังกล่าวแล้ว แต่ที่มาของคำว่า “ตรัง” ทั้งสองประการนี้ เป็นเพียง ข้อสันนิคำขวัญ ประจำจังหวัด
เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา
เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา