สถิติ
เปิดเมื่อ5/07/2019
อัพเดท22/09/2019
ผู้เข้าชม508
แสดงหน้า605
สินค้า
ปฎิทิน
July 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
  




บทความ

วัฒนธรรมเเละประเภณีจังหวัดตรังเเละกรุงเทพ

ประเภณีเเละวัฒนธรรมจังหวัดตรัง                

งานเทศกาลขนมเค้ก ชาวตรังมีชื่อเสียงในการทำขนมเค้กมาช้านาน โดยเฉพาะที่บ้านลำภูรา เป็นแหล่งผลิตขนมเค้กมาแต่ดั้งเดิม เอกลักษณ์ของขนมเค้กของชาวตรังจะไม่ใช้ครีมตกแต่งหน้าเค้ก ขนมเค้กมีหลายรส เช่น รสส้ม รสกาแฟ รสสามรส รสใบเตย รสเนย งานเทศกาลขนมเค้กจัดเป็นประจำทุกปี ช่วงเดือนสิงหาคม บริเวณถนนสถานี

งานเทศกาลหมูย่าง  เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง ช่วงเดือนกันยายนของทุกปี ภายในงานมีหมูย่างสูตรพิเศษของเมืองตรังจากร้านต่างๆ ในจังหวัด งานจัดบริเวณสี่แยกธรรมรินทร์ ถนนสถานี                

งานประเพณีไหว้พระจันทร์   เป็นงานประเพณีที่ชาวจีนในตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียนปฎิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน เพื่อรำลึกถึงการกู้ชาติจากพวกมองโกล โดยยึดเอาวันเพ็ญเดือน 8 (ตามปฎิทินจีน) ประมาณปลายเดือนกันยายนหรือต้นเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันจัดงาน

งานเทศกาลกินเจ  เป็นงานประเพณีดั้งเดิมของชาวจีนในจังหวัดตรัง  จะมีขึ้นในวันขึ้น 1-9 ค่ำ เดือน 9 ของปฎิทินจีน (ประมาณเดือนตุลาคม) โดยถือเอาวันขึ้น 6 ค่ำ เป็นวันสำคัญที่สุดของงาน  ในงานจะจัดขบวนแห่เจ้าอย่างมโหฬารไปรอบๆ เมือง มีพิธีไหว้เจ้าและลุยไฟ ชาวจีนจะนุ่งขาวห่มขาวไปถือศีลกินเจตามศาลเจ้าต่างๆ เป็นเวลา 9 วัน                

งานเปิดฟ้าทะเลตรัง เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง ในช่วงเปิดฤดูกาลท่องเที่ยว งานจะจัดในสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี

งานเทศกาลหอยตะเภา  เป็นเทศกาลที่มุ่งส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งานจัดบริเวณชายหาดปากเมง  ช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี                

งานวิวาห์ใต้สมุทร     กิจกรรมที่สำคัญในงานที่แปลกที่สุดในโลก ได้แก่ พิธีต้อนรับคู่บ่าวสาว (ชาวไทยและต่างประเทศ) ณ สนามบินตรัง ขบวนแห่คู่บ่าวสาวรอบตัวเมืองตรัง ต่อจากนั้นก็แห่ขันหมากด้วยเรือหางยาวไปยังเกาะกระดานแล้วดำน้ำลงไปทำพิธีรดน้ำสังข์และจดทะเบียนสมรสใต้ท้องทะเลลึกกว่า 40 ฟุต สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หอการค้าจังหวัดตรัง โทร.075 210 238, 075 225 353 ททท.สำนักงาน ภาคใต้ เขต 2(นครศรีธรรมราช) โทร. 075 346 515   HYPERLINK 'http://www.tat.or.th' www.tat.or.th / festival ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง โทร. 075 215 867-8

 

วัฒนธรรมท้องถิ่น

มโนราห์หรือโนรา ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ เป็นการแสดงที่มีท่ารำอ่อนช้อย สวยงาม บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฎิภาณไหวพริบสรรหาคำมาสัมผัสกันให้ได้อย่างฉับไว ประกอบความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรีประกอบด้วยกลอง ทับคู่ ฉิ่ง โหม่ง ปี่ชวาและกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย                

หนังตะลุง ศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่นิยมกันมากทั่วภาคใต้ ใช้หนังสัตว์แกะเป็นรูปตัวละคร ตัวแสดงต่างๆ เช่น ฤาษี เจ้าเมือง ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์และตัวตลก เป็นต้น นำรูปหนังเชิดหลังจอผ่านแสงไฟส่องทำให้เกิดภาพสีและเงาปรากฎบนจอ นายหนังหรือผู้เชิดหนังตะลุง จะเป็นผู้ขับกลอนหรือพากษ์ไปด้วย จะเป็นผู้ที่มีไหวพริบเป็นเลิศและจะพากษ์คนเดียวตลอดเรื่อง เครื่องดนตรีเช่นเดียวกับมโนราห์ อาจเพิ่มซออู้ หรือซอด้วงไปด้วย

ลิเกป่า ลิเกบกหรือลิเกรำมะนาต่างจากลิเกโรงทั่วไป เพราะจะแต่งกายด้วยชุดธรรมดาไม่ใช่ชุดลิเก นิยมเล่นในหมู่ชาวไทยอิสลาม ใช้ผู้แสดง ๓ คนในฉากเดียวตลอดเรื่อง เปลี่ยนแปลงเฉพาะชื่อสถานที่ตามที่ๆ ไปแสดงเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศนั้น ๆ เครื่องดนตรีจะมีรำมะนาด 2-3 ใบ ฉิ่ง โหม่ง ฆ้อง ปี่ชวา

แหล่งข้อมูล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
 

 ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี กรุงเทพมหานคร

งานเทศกาลไทยเที่ยวไทย
จัดขึ้นในปลายเดือนสิงหาคม ณ ศูนย์ประชุมแห่ง ชาติสิริกิติ์ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชาว ไทยท่องเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น ลักษณะของงานจึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อพบผู้ขาย โดยตรง โดยมีผู้แทน จากบริษัท นำเที่ยว สถานที่พัก สถานที่ท่องเที่ยว ร้านขายสินค้าที่ ระลึก นำสินค้ามาแสดง พร้อมเสนอรายการพิเศษต่าง ๆ โดย เฉพาะส่วนของสินค้าที่ระลึก ซึ่งเป็นผลิตผลจากงานฝีมือของชาว บ้านท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศ จะได้รับความสนใจเป็น พิเศษ มีการ แสดงพื้นบ้าน สาธิตงานหัตถกรรม และกิจกรรมเสริมอื่น ๆ มากมาย

ประเพณีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์
กิจกรรมในงานเริ่มตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน มีการแห่พระพุทธรูป จากวัดตรีทศเทพมาประดิษฐาน ณ บริเวณงานย่านถนนวิสุทธิ กษัตริย์ เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ มีการรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ การละเล่นพื้นเมือง กีฬาสำหรับเด็ก กลางคืนมีมหรสพต่าง ๆ ในวันที่ 13 เมษายน ซึ่งเป็นวันสงกรานต์ มีการตักบาตรและ ประกวดเทพีสงกรานต์ในช่วงเช้า และการแสดงในยามค่ำคืน

งานว่าวสนามหลวง
จัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือน เมษายน ณ ท้องสนามหลวง โดยการแข่งขันจะเริ่มเวลาประมาณ 16.45-17.30 น. และในระหว่างเทศกาลดังกล่าว บริเวณท้อง สนามหลวงก็ได้จัดกิจกรรมเสริมอื่นๆ ให้ชมด้วย เช่น การแสดง ศิลปะป้องกันตัว กระบี่กระบอง ดนตรีไทย การจำหน่ายว่าวชนิด ต่างๆ รวมทั้งมีการนำว่าวจากต่างประเทศมาแสดงด้วย เป็น กิจกรรมที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จากชาวไทยและชาวต่าง ประเทศ

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ทำเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่พืชพันธุ์ธัญญาหาร และเพื่อเป็นการบำรุงขวัญเกษตรกรไทย โดยพระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีสงฆ์ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์ แต่มีจุดประสงค์อย่างเดียวกัน พระราชพิธีนี้กระทำต่อเนื่องกัน พระราชพิธีพืชมงคลจะทำก่อนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 1 วัน ในเดือน 6 หรือเดือนพฤษภาคม ณ ท้องสนามหลวง

พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ วันราชวัลลภ
ในวันที่ 3 เดือนธันวาคม เหล่าทหารรักษาพระองค์ได้จัดพิธีถวาย สัตย์ปฏิญาณ ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าในช่วงบ่าย เพื่อ แสดงความพร้อมเพรียง และความจงรักภักดีของเหล่าทหารหาญ ที่มีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

งานนมัสการพระบรมบรรพต หรืองานวัดภูเขาทอง
งานนมัสการพระบรมบรรพตหรืองานวัดภูเขาทอง ได้เริ่มมีขึ้นใน สมัยรัชกาลที่ 3 และได้จัดให้มีงานเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบันใน วันขึ้น 11 ค่ำ ถึงวันแรม 3 ค่ำ เดือน 12 รวม 7 คืน 8 วัน โดยใน งานจะมีการนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ที่ประดิษฐานอยู่ในพระ เจดีย์ใหญ่ และปิดทองพระอัฏฐารส พระพุทธรูปสำคัญของวัด มี การออกร้านขายสินค้า อาหาร มีการละเล่น มหรสพ และสวนสนุก

ประเพณีใส่บาตรดอกไม้ วัดบวรนิเวศฯ
การบูชาพระรัตนตรัยด้วยดอกไม้ธูปเทียนนั้นเรียกว่า 'อามิสบูชา' ศรัทธานี้มีผลานิสงส์ไม่น้อยไปกว่าการปฏิบัติบูชา และนับเป็นคติ ความเชื่อทางพุทธศาสนาที่ชาวไทยปฏิบัติสืบทอดกันมา การถวาย ดอกไม้เพื่อบูชาพระจะทำเป็นพิธีใหญ่ และสืบทอดกันมาจนกลาย เป็นประเพณีประจำถิ่น เรียกว่า 'ประเพณีใส่บาตรดอกไม้' หรือ 'ประเพณีตักบาตรดอกไม้' ซึ่งในกรุงเทพมหานครจะมีเพียงแห่ง เดียวที่วัดบวรนิเวศวิหาร ประเพณีใส่บาตรดอกไม้ที่วัดบวรนิเวศวิหารนี้ ได้จัดมาเป็นประจำ ทุกปี ประมาณ 50 ปีมาแล้ว แต่ดอกไม้ที่ใช้ในวัดบวรนิเวศฯ นี้แตก ต่างจากดอกไม้ที่ใช้ใส่บาตรที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เพราะที่วัดบวรนิเวศฯ ใช้ดอกบัว แต่ก็มีดอกไม้ชนิดอื่นปะปนเข้ามา ด้วย เช่น ดอกกุหลาบ กล้วยไม้ และดอกไม้สดที่นำมาประดิษฐ์อย่าง สวยงาม

พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนิน ถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวน พยุหยาตราชลมารค
ในยุคแรกเริ่มของกระบวนเรือ การเสด็จพระราชดำเนินของพระ มหากษัตริย์ไทย นับแต่โบราณกาลมา นอกจากการเสด็จพระราช ดำเนินทางบก ที่เรียกว่า 'พยุหยาตราสถลมารค' แล้วการเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ คือ 'พยุหยาตราชลมารค' ก็เป็นเส้นทาง การคมนาคมที่สำคัญยิ่งเช่นกัน ตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ของไทยเรา ปรากฏว่าพระร่วงทรงเรือออกไปลอยกระทงหรือพิธี จองเปรียง ณ กลางสระน้ำ พร้อมทั้งเผาเทียนเล่นไฟในยามคืนเพ็ญ เดือนสิบสอง พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวน พยุหยาตราชลมารคนี้ จะจัดขึ้นในโอกาสพิเศษเท่านั้น จึงเป็นสิ่งที่ ประชาชนชาวไทย และชาวต่างประเทศเฝ้ารอคอยที่จะได้ชมมา เป็นเวลานาน  

เเหล่งข้อมูล
https://www.baanjomyut.com/76province/center/bangkok/costom.html